Mouse แบ่งได้เป็นสองแบบคือ
1. แบบทางกล
2. แบบใช้แสง
1. แบบทางกล
เป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อน Mouse ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ Mouse แบบทางกลนี้มีโครงสร้างที่ออกแบบได้ง่าย มีรูปร่างพอเหมาะมือ ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถล สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของMouseและจอ ภาพ
Ball Mouse
มีชนิดที่เป็น Ball อยู่ในแนวตั้งและแนวนอน Mouse แบบ Ball การใช้งานต้องเลื่อน Mouse ยังแกนต่างๆบนหน้าจอเพื่อเลือก หรือยกเลิกโปรแกรมที่ทำงานอยู่ ต่อมาได้พัฒนา Mouse ให้มี wheel เพื่อให้สะดวกในการใช้งานกับ Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 95 เป็นต้นมา ซึ่งช่วยในการเลื่อนหน้าต่าง Window ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเลื่อน Mouse เพียงแต่ใช้นิ้วขยับไปที่ wheel ขึ้นลงเท่านั้น
Wireless Mouse
เป็น Mouse ที่มีการทำงานเหมือน Mouse ทั่วไปเพียงแต่ไม่มีการใช้สายไฟต่อออกมาจากตัว Mouse ซึ่ง Mouse ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณซึ่งทางด้านตัวรับสัญญาณอาจจะเป็นหัวต่อ แบบ PS/2 หรือ แบบ USB ที่เรียกว่า Thumb USB receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุอยู่ที่ 27MHz
Mouse สำหรับ Macintosh
เป็น Mouse ที่ใช้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh ซึ่งเป็น Mouse ที่ไม่มี wheel และปุ่มคลิ๊ก ก็ มีเพียงปุ่มเดียวแต่สามารถใช้งาน ได้ครอบคลุมทุกหน้าที่การทำงาน ซึ่งทางบริษัท Apple ออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่อง Macintosh เท่านั้น
2. Mouse แบบใช้แสง
อาศัยหลักการส่งแสงจาก Mouse ลงไปบนแผ่นรอง Mouse (mouse pad)
เป็น Mouse ชนิดใช้แสงซึ่งปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิต Mouse ชนิดนี้ได้เพิ่มให้มีความสวยงามต่างๆกันไป เช่น ใส่แสงให้กับ wheel หรือไม่ก็ออกแบบให้มีแสงสว่างทั้งตัว Mouse แต่หน้าที่การทำงานก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก Ball Mouse
ที่มาจากหนังสือ:เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร ม.1 หน้า22
ที่มาของรูปภาพhttp://www.com5dow.com/basic-computer/6-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%8C-mouse-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556
หน่วยรับข้อมูล
หน่วยรับข้อมูล หรือ หน่วยนำเข้าข้อมูล เป็นหน่วยเริ่มต้นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพราะ มีหน้าที่ในการนำข้อมูลหรือคำสั่งต่าง ๆ เข้าไปในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์รับข้อมูลของหน่วยรับข้อมูล มีหลายชนิด เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน จอยสติก จอสัมผัส แต่ทุกชนิดทำหน้าที่ รับข้อมูลหรือคำสั่ง เข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เหมือนกัน
อุปกรณ์ของหน่วยรับข้อมูล แต่ละชนิดมีวิธีการนำเข้าข้อมูล หรือรับคำสั่ง ตลอดจนลักษณะของรูปแบบข้อมูลที่นำเข้าต่างกันหน้าที่สำคัญ คือ เป็นอุปกรณ์ ที่รับข้อมูล หรือคำสั่ง เข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อ
ขอขอบคุณที่มาจากหนังสือ:เทศโนโลยีสารสรเทศและการสือสาน ม.1 หน้า19
ที่มารูปภาพ:http://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=sDC1UbyANYWiigfh74CADQ&ved=0CD0QsAQ&biw=1366&bih=667
ยุคของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
3. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508 - 2513) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้วงจรไอซี ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรกึ่งตัวนำเอาไว้มาก แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิคอน เรียกว่า "ชิป" (Chip) ซึ่งมีขนาดเล็กมาก จึงทำให้เครื่องในยุคนี้มีขนาดเล็กลง เขียนชุดคำสั่งด้วยภาษาระดับสูง และเริ่มมีโปรแกรมสำเร็จรูปใช้งาน ตัวอย่างเครื่องในยุคนี้ ได้แก่ IBM360
4. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2514 - 2523) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จนถึงปัจจุบัน ใช้วงจร LSI (Large-Scale Integrated Circuit) คือ การใช้เทคโนโลยีใหม่ โดยรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิคอนชิป 1 แผ่น ซึ่งทำให้เล็กลงไปอีกมาก และกลายเป็นวงจร VLSI (Very Large -Scale Integrated Circuit) ซึ่งสามารถบรรจุวงจรได้มากกว่า 1 ล้านวงจร และด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ลงในชิปตัวเดียว นั่นคือส่วนของ CPU (Central Processing ๊๊Unit) อยู่บนชิปตัวเดียวเรียกว่า "ไมโครโปรเซสเซอร์" ตัวอย่างเครื่องในยุคนี้ ได้แก่ IBM 370 ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก คือ Altair 8800 , a\Apple II เป็นต้น
5. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน) ยุคของวงจร VLSI เป็นช่วงที่กำลังพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า "ไมโครโปรเซสเซอร์" ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเทคโนโลยี ทางสถาปัตยกรรมโครงสร้าง และการพัฒนาภาษาที่ใช้กับระบบซอท์ฟแวร์เพื่อให้รับรู้ภาษาพูดของมนุษย์โดยตรง มีหน่วยความจำขนาดมหึมาพอกับการจัดการระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งต่อไปเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่หยุดทำงานเพราะมีระบบแก้ไขข้อขัดข้องภายในตัวมันเอง และมีความสามารถสูงพอที่จะรับคำสั่งจากภาษาพูดของมนุษย์ได้ จนถือว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้จำเป็นอย่างหนึ่งภายในบ้าน
ขอบคุรที่มาจากหนังสือ:เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.1 หน้า7
วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556
เครื่องพีดีเอ คืออะไร
PDA (Personal Digital Assistant) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึก , เก็บข้อมูล , เตือนเวลานัดหมาย หรือ จัดการงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมไปถึงความสามารถของการเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้งานด้านอื่นๆได้เหมาะสมกับความต้องการยิ่งขึ้น เช่น ดูเวลารอบโลก , อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา , ดูหนังสือพิมพ์ออนไลน์ , บันทึกรายรับรายจ่าย แม้แต่ในเรื่องของมัลติมีเดียและเอนเตอร์เทน เช่น ดูหนัง , ฟังเพลง , หรือ เล่นเกมส์ ก็สามารถรวม
เข้าไปอยู่ในเจ้าอุปกรณ์เล็กๆนี้ได้เช่นกัน
PDA นั้นยังแยกออกมาได้อีกหลายประเภท ตามลักษณะของการใช้งานและระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้งอยู่ในเครื่อง PDA นั้นๆ ซึ่งหลักๆที่เรารู้จักกันก็จะมี PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm OS หรือที่เรียกว่า Palm และ PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Mobile หรือที่เรียกกันว่า Pocket PC นั่นเอง
Palm ทำอะไรได้บ้าง
คำถามนี้มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอสำหรับผู้ที่ต้องการจะเริ่มใช้งานเจ้าอุปกรณ์ประเภทนี้ ในเบื้องต้นนั้น Palm สามารถทำงานในลักษณะของ Organizer อย่างเช่นการจดบันทึก , นัดหมาย , บันทึกที่อยู่ รวมไปถึงการใช้งานในลักษณะของโปรแกรม Office และยังก้าวข้ามไปถึงการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับสาขาอาชีรือความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้อีกด้วย
ขอบคุณที่มาจากหนังสือ:เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร ม.1 หน้า20
ที่มาของรูปภาพ:http://www.google.co.th/search?biw=1366&bih=624&tbm=isch&sa=1&q=pda&oq=pda&gs_l=img.3..0l7j0i24l3.1790.3942.0.4139.3.3.0.0.0.0.153.429.0j3.3.0...0.0...1c.1.16.img.9Kg61Hk5FvY
รหัสแอสกี คืออะไร
คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันในปัจจุบันเป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่ทำงานแบบดิจิทัล เมื่อผู้ใช้ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำการแปลงข้อมูลนั้นเป็นเลขฐานสอง (Binary number system) ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 และ เลข 1 ซึ่งเรียกว่า รหัสแทนข้อมูล โดยเป็นรหัสที่ใช้แทน ข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้คอมพิวเตอร์และผู้ใช้สามารถเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ ได้
รหัสที่ใช้ในการแทนข้อมูลในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ
1. รหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC): Extended Binary Coded Decimal Interchange Code) เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมของไอบีเอ็มยังคงใช้รหัสนี้
2. รหัสแอสกี (ASCII: American Standard Code Information Interchange) เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมาก ในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นรหัส 8 บิท แทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ 256 ตัว
2. รหัสแอสกี (ASCII: American Standard Code Information Interchange) เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมาก ในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นรหัส 8 บิท แทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ 256 ตัว
1. รหัสแทนข้อมูล
เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถเข้าใจเฉพาะตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ 0 และ 1 ฉะนั้นการที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจข้อมูลอื่น ๆ ได้นั้น จะต้องมีการใช้รหัสในการแทนข้อมูล
เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถเข้าใจเฉพาะตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ 0 และ 1 ฉะนั้นการที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจข้อมูลอื่น ๆ ได้นั้น จะต้องมีการใช้รหัสในการแทนข้อมูล
2. การวัดขนาดข้อมูลหรือหน่วยวัดความจำ
หน่วยที่ใช้วัดความจำที่เล็กที่สุด คือ ไบต์ (Byte) ซึ่งหมายถึง จำนวนตัวเลขในระบบเลขฐานสองที่ต่อเนื่องกันเป็นกลุ่มแต่ละตัวเรียกว่า บิต (bit) เช่น 01100001 = 8 บิต ก็คือ 1 ไบต์ ประกอบด้วยตัวเลข 0 หรือ เลข 1 จำนวน 8 ตัว เรียงต่อกัน
หน่วยที่ใช้วัดความจำที่เล็กที่สุด คือ ไบต์ (Byte) ซึ่งหมายถึง จำนวนตัวเลขในระบบเลขฐานสองที่ต่อเนื่องกันเป็นกลุ่มแต่ละตัวเรียกว่า บิต (bit) เช่น 01100001 = 8 บิต ก็คือ 1 ไบต์ ประกอบด้วยตัวเลข 0 หรือ เลข 1 จำนวน 8 ตัว เรียงต่อกัน
ขอบคุณที่มาจากหนังสือ:เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.1 หน้า52
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)